by www.zalim-code.com

It'me

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 28 กันยายน 2555


อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวิเคราะห์เรื่องแท็บเล็ต (Tablet) ภายใน 20 นาที  ในหัวข้อดังนี้
-จุดประสงค์ของแท็บเล็
-ประโยชน์ของแท็บเล็ต
-ข้อจำกัดของแท็บเล็ต
-แท็บเล็ตกับเด็กป.1 ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
โดยเชื่อมโยงกระบวนการคิดจากการแต่งคำขวัญเรื่อง "เหล้า"


ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทมากแ­ละคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆจ­ะได้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามทางภาครัฐเองก็ควรเ­ตรียมความพร้อมหรือพัฒนาศักยภาพ­ของตัวผู้สอนไปพร้อมๆกัน อีกสิ่งที่ยังกังวลคือหากเน้นกา­รเรียนการสอนด้วยการใช้แท็บเล็ต­ที่มากเกินความพอดีอาจทำให้เด็ก­ขาดทักษะการเขียนได้ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าทักษะก­ารเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเ­ด็กวัยนี้

แต่อย่างไรก็ตาม แท็บเล็ตจะเป็นเพียงตัวช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน เท่านั้น แต่ไม่สามารถมาแทนครูได้ เพียงแต่เป็นอุปกรณ์ที่ให้ครูและนักเรียนเลือกใช้ได้บางเวลา ไม่ได้ใช้ตลอดเวลา

***หมายเหตุ  สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 2203)

ค้นคว้าเพิ่มเติม

ย้ำชัด! แท็บเล็ตต้องเด็กป.1 ช่วยเด็กอ่านออกเขียนได้

(12 กรกฎาคม 2555 โรงแรมตรัง,กรุงเทพฯ) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00น. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิริมย์ศานดิ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด เป็นผู้ร่วมเสวนา และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีคณาจารย์ในสังกัด สพฐ. และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาจำนวนมาก

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จัดเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” เพื่อตอบข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กป.1 หรือเด็กในวัย 6-7 ปีทั่วประเทศ ซึ่งการเสวนาจัดขึ้นเป็นลักษณะ 2 ภาษา ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาและสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ร่วมเสวนาบนเวทีด้วย นอกจากนี้ ยังมี รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวมทั้ง นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต มาให้คำแนะนำถึงการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตเพื่อการศึกษากับเด็กในช่วงวัย 6-7 ปี รวมทั้งการกำกับดูแลของคุณครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง จากนี้ นายณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และธุรกิจด้านการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มาร่วมแสดงทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารการเรียนการสอนยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเนื้อหาดิจิตอลเพื่อการศึกษา รวมทั้งการปรับตัวในยุคเทคโนโลยีที่ไม่สามารถหลึกเลี่ยงได้ แต่ต้องรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ 

ด้าน  ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ กล่าวว่า การนำแท็บเล็ตมาใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อาจจะมีการใช้ในช่วงชั้นที่แตกต่างกันไป มีหลายกรณีที่เราได้พบเห็น ดดยเฉพาะที่ชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา ได้มีการใช้แท็บเล็ตมาแล้ว และเริ่มใช้ในนักเรียนเกรด 1 ซึ่งหลักการแนวคิดของเขาน่าสนใจ คือ ต้องการให้นักเรียนได้มีพัฒนาการในเรื่องของ Literacy นั้น คือการอ่านออกเขียนได้ หรือ Literacy Driven หมายความว่าต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้หนังสือได้โดยเร็วที่สุด ในมุมมองทรี่ลึกไปกว่านั้น คือ เน้นการแสดงออกทางความคิด เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้ถูกวิธีจะทำให้ครูได้เรียนรู้ในเรื่องกระบวนการคิดของนักเรียนแต่ละคน จึงโยงมาถึงเรื่องของการเรียนรู้รายบุคคล และการประเมินผลตามสภาพจริง คือ นักเรียนจะแสดงออกทางความคิดความรู้สึกโดยอธิบายสิ่งที่นักเรียนค้นพบเล่าเป็นเรื่องๆได้ เพราะฉะนั้นครูก็จะรู้กระบวนการคิดของนักเรียนว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบเช่นนี้

อ้างอิง : ย้ำชัด! แท็บเล็ตต้องเด็กป.1 ช่วยเด็กอ่านออกเขียนได้

....................................................................

ดาวน์โหลดเพลงเด็กปฐมวัย

***หมายเหตุ เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย  ให้ดาวน์โหลดเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้  จัดกิจกรรมและพัฒนาเด็กปฐมวัย  มิใช่เพื่อการค้าขายทั้งปวง

เพลงMP3

เพลงVCD

สนใจสั่งซื้อแผ่นเพลง VCD คลิ๊กเลย !!!

วิเคราะห์บทความ

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม


 "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณครูแมว –ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน

สรุป
นิทานมีผลต่อเด็กในทุกๆด้าน  ครูต้องคอยสังเกตว่าเด็กมีความสนใจในนิทานเรื่องไหน  ครูก็หยิบนิทานเรื่องนั้นมาทำกิจกรรมแบบบูรณาการ  ซึ่งเวลาทำกิจกรรมครูต้องคำนึงว่า



โดยเนื้อหาสาระไม่ต้องมาจากครูทั้งหมด  แต่ครูต้องมีวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน คือ
- ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
- เด็กต้องมีพัฒนาการด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
หลังจากทำกิจกรรม  พบว่าเด็กชอบหยิบหนังสือมาอ่านมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเด็กมีแนวโน้มรักการอ่าน

........................................