by www.zalim-code.com

It'me

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

การดำเนินกิจกรรมการเล่านิทาน Big Book

วันที่ 24 กรกฎาคม 2555  

วันนี้เวลา 8.00-8.20 น. กลุ่มของดิฉันได้ไปทำกิจกรรมเล่านิทาน Big Book เรื่องความสามัคคีของสัตว์ทั้งสี่  ให้น้องๆ ฟังที่สาธิตจันทรเกษม  น้องทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากค่ะ


ค้นคว้าเพิ่มเติม
มาทำความรู้จักกับ Big Books หรือขอเรียกชื่อเล่นว่า นิทานเล่มใหญ่ แทนก็แล้วกันนะคะ หลายๆคนที่เคยเห็นอาจจะทราบแล้วว่าเจ้านิทานเล่มโตนี้ ดีอย่างไร หากแต่หลายๆครั้งที่ได้ยินคำถามกลับมาว่า จริงๆแล้วหนังสือนิทานเล่มใหญ่ๆมีไว้เพื่ออะไร ดีอย่างไร เราดีใจค่ะที่มีคนถาม เพราะเราก็อยากตอบให้หายสงสัยกันสักที

Big Book เหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่

จริงๆแล้วไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอายุของเด็ก ตราบเท่าที่น้องๆหนูๆอยากอ่านหนังสือขึ้นมาสักเล่ม ก็คงเป็นเรื่องน่ายินดี เริ่มแรกเลยหนังสือเล่มใหญ่นี้เอาไว้ใช้กับเด็กในวัยเริ่มหัดอ่านหนังสือ ตั้งแต่อนุบาล จนถึงประถมต้นค่ะ หรืออายุเริ่มต้นที่ 3 - 8 ขวบ โดยหนังสือที่สำนักพิมพ์เลือกมาทำให้เป็นเล่มใหญ่ๆนี้ จะเริ่มจากมีเนื้อหาจากน้อยๆ และเพิ่มปริมาณเนื้อหา คำศัพท์ มากขึ้นเรื่อยๆให้เหมาะสมกับอายุและการพัฒนาการ เนื้อเรื่องชวนอ่าน และที่สำคัญ สีสันสดใสมากๆค่ะ ในวัยเด็กๆแบบนี้จินตนาการจากรูปภาพ วิธีการจดจำคำศัพท์จากรูป จากเรื่องราวที่ได้เห็น ได้อ่าน จะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการได้ดีมากขึ้นนะคะ


Tip : ควรเลือกหนังสือที่มีคำศัพท์จากน้อย ไปหามาก ให้สำหรับเด็กอายุน้อย ไปหามากเช่นกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากอ่าน เพราะมันจะไม่เยอะเกินความสามารถพวกเขานั่นเองนะคะ

Big Book แนะนำวิธีการนำไปใช้
ด้วยขนาดที่ใหญ่ของหนังสือนั้นทำมาก็เพื่อ "อ่านด้วยกันได้หลายคน" หรือ ที่ฝรั่งเรียก "Shared Reading" นั้น จึงเหมาะที่จะจัดกลุ่มให้เด็กๆล้อมวงกันโดยมีคุณครู พ่อ แม่ พี่ หรือ ผู้ปกครองเป็นคนอ่านเล่าเนื้อเรื่องให้ฟัง โดยเราสามารถที่จะสร้างความสนุกสนานไปพร้อมๆกับมอบความรู้ให้กับเด็กๆ โดยสามารถอ่านเล่าเรื่องได้หลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีจุดประสงค์ในการให้ความรู้ ความสนุกสนานกับเด็กๆที่ต่างกันไป เรามีเคล็ดเล็กๆดังต่อไปนี้มาฝากค่ะ

* วันแรกเริ่มต้นด้วยการให้เด็กๆ เดาว่าหนังสือเล่มที่กำลังจะอ่านกันนั้น เกี่ยวกับอะไรด้วยการโชว์ปกหน้า หลัง ฟังความเห็นเด็กๆว่าจะเดากันว่ายังไง แล้วเริ่มต้นอ่านดังๆ ชัดเจน (สามารถแอ๊คชั่น ใส่อารมณ์ตามเนื้อหาเพื่อเพิ่มความสนุกสนานน่าติดตามค่ะ) เล่าเรื่องไปจนจบก็จะได้ความสนุกสนานให้กับเด็กๆ อย่าลืมทวนว่ามีใครทายถูกกันบ้างนะคะ เค้าจะได้รู้สึกมีส่วนร่วม ชวนให้ร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออกอีกด้วย ไม่ใช่ถามแล้วลืมเดี๋ยวเด็กๆเค้าจะไม่อยากตอบเราอีกต่อไป

* วันที่สอง ก็อ่านเล่าเนื้อเรื่องใหม่ แต่คราวนี้เราเน้นไปที่คำศัพท์ ด้วยการให้เด็กๆอ่านตาม (Echo reading) หรือให้อ่านไปพร้อมๆกัน (Choral reading)หรือในขณะที่กำลังอ่านไปก็หยุดเพื่อรอให้ เด็กๆ เติมคำที่หายไป (Fill in the gap reading) วิธีการเหล่านี้้เป็นการกระตุ้นให้เด็กๆเกิดความเพลิดเพลินในการอ่านอีกด้วยค่ะ

* วันที่สาม อ่านกันใหม่ คราวนี้เราจะเริ่มให้เด็กๆเดาความหมายของคำศัพท์ กับ รูปภาพที่อยู่ในหนังสือ โดยครูจะเป็นผู้ชี้นำเด็กด้วยการตั้งคำถามเพื่อที่จะดึงเอาความหมายของคำศัพท์ที่ถูกต้องออกมาจากรูปในหนังสือได้

* วันที่สี่ เมื่อเด็กๆรู้ความหมายของคำศัพท์กันแล้ว ก็มาลองแลกเปลี่ยนความเห็น เกี่ยวกับเนื้อเรื่องของหนังสือ เช่น ถ้าในหนังสือมีรูปไก่กำลังร้อง เราสามารถถามเด็กๆว่า ถ้าเราเปลี่ยนไก่เป็นลิง เสียงร้องจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเป็นหมูจะมีเสียงร้องเป็นอย่างไร เป็นต้น เหล่านี้ก็เพื่อเพิ่มความรู้ให้เด็กๆนอกจากที่หนังสือนำเสนอแล้วยังทำให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการออกความเห็นกับเราร่วมกันด้วย

* วันที่ห้า เมื่อเด็กๆเริ่มรู้เนื้อหาของหนังสือเราจะมาทดสอบความจำ ความเข้าใจพวกเขากันด้วยการ เปิดหนังสือให้เด็กๆเรียงเหตุการณ์ลำดับก่อนหลังได้อีกด้วยอีกทั้งครูสามารถเปิดหาคำที่มี อยู่ซ้ำๆกัน หรือเล่นกับเสียงของคำ ด้วยการอ่านแล้วให้เด็กฟังว่าคำศัพท์คำไหนมีการออกเสียงที่คล้องจองกันได้ อีกด้วย

เราจะเห็นว่ามีหลากหลายวิธีการเรียนรู้ในระหว่างการอ่านหนังสือร่วมกัน หากใครมีวิธีการใหม่ๆอยากนำเสนอก็เอามาแชร์กันนะคะเผื่อจะได้เพิ่มพูนวิธีการที่มีประโยชน์ให้กับเด็กๆได้อีกด้วยค่ะ

อ้างอิงจาก : Big Book - นิทานเล่มใหญ่

....................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น