by www.zalim-code.com

It'me

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 28 กันยายน 2555


อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวิเคราะห์เรื่องแท็บเล็ต (Tablet) ภายใน 20 นาที  ในหัวข้อดังนี้
-จุดประสงค์ของแท็บเล็
-ประโยชน์ของแท็บเล็ต
-ข้อจำกัดของแท็บเล็ต
-แท็บเล็ตกับเด็กป.1 ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
โดยเชื่อมโยงกระบวนการคิดจากการแต่งคำขวัญเรื่อง "เหล้า"


ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทมากแ­ละคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆจ­ะได้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามทางภาครัฐเองก็ควรเ­ตรียมความพร้อมหรือพัฒนาศักยภาพ­ของตัวผู้สอนไปพร้อมๆกัน อีกสิ่งที่ยังกังวลคือหากเน้นกา­รเรียนการสอนด้วยการใช้แท็บเล็ต­ที่มากเกินความพอดีอาจทำให้เด็ก­ขาดทักษะการเขียนได้ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าทักษะก­ารเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเ­ด็กวัยนี้

แต่อย่างไรก็ตาม แท็บเล็ตจะเป็นเพียงตัวช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน เท่านั้น แต่ไม่สามารถมาแทนครูได้ เพียงแต่เป็นอุปกรณ์ที่ให้ครูและนักเรียนเลือกใช้ได้บางเวลา ไม่ได้ใช้ตลอดเวลา

***หมายเหตุ  สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 2203)

ค้นคว้าเพิ่มเติม

ย้ำชัด! แท็บเล็ตต้องเด็กป.1 ช่วยเด็กอ่านออกเขียนได้

(12 กรกฎาคม 2555 โรงแรมตรัง,กรุงเทพฯ) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00น. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิริมย์ศานดิ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด เป็นผู้ร่วมเสวนา และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีคณาจารย์ในสังกัด สพฐ. และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาจำนวนมาก

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จัดเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” เพื่อตอบข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กป.1 หรือเด็กในวัย 6-7 ปีทั่วประเทศ ซึ่งการเสวนาจัดขึ้นเป็นลักษณะ 2 ภาษา ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาและสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ร่วมเสวนาบนเวทีด้วย นอกจากนี้ ยังมี รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวมทั้ง นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต มาให้คำแนะนำถึงการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตเพื่อการศึกษากับเด็กในช่วงวัย 6-7 ปี รวมทั้งการกำกับดูแลของคุณครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง จากนี้ นายณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และธุรกิจด้านการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มาร่วมแสดงทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารการเรียนการสอนยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเนื้อหาดิจิตอลเพื่อการศึกษา รวมทั้งการปรับตัวในยุคเทคโนโลยีที่ไม่สามารถหลึกเลี่ยงได้ แต่ต้องรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ 

ด้าน  ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ กล่าวว่า การนำแท็บเล็ตมาใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อาจจะมีการใช้ในช่วงชั้นที่แตกต่างกันไป มีหลายกรณีที่เราได้พบเห็น ดดยเฉพาะที่ชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา ได้มีการใช้แท็บเล็ตมาแล้ว และเริ่มใช้ในนักเรียนเกรด 1 ซึ่งหลักการแนวคิดของเขาน่าสนใจ คือ ต้องการให้นักเรียนได้มีพัฒนาการในเรื่องของ Literacy นั้น คือการอ่านออกเขียนได้ หรือ Literacy Driven หมายความว่าต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้หนังสือได้โดยเร็วที่สุด ในมุมมองทรี่ลึกไปกว่านั้น คือ เน้นการแสดงออกทางความคิด เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้ถูกวิธีจะทำให้ครูได้เรียนรู้ในเรื่องกระบวนการคิดของนักเรียนแต่ละคน จึงโยงมาถึงเรื่องของการเรียนรู้รายบุคคล และการประเมินผลตามสภาพจริง คือ นักเรียนจะแสดงออกทางความคิดความรู้สึกโดยอธิบายสิ่งที่นักเรียนค้นพบเล่าเป็นเรื่องๆได้ เพราะฉะนั้นครูก็จะรู้กระบวนการคิดของนักเรียนว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบเช่นนี้

อ้างอิง : ย้ำชัด! แท็บเล็ตต้องเด็กป.1 ช่วยเด็กอ่านออกเขียนได้

....................................................................

ดาวน์โหลดเพลงเด็กปฐมวัย

***หมายเหตุ เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย  ให้ดาวน์โหลดเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้  จัดกิจกรรมและพัฒนาเด็กปฐมวัย  มิใช่เพื่อการค้าขายทั้งปวง

เพลงMP3

เพลงVCD

สนใจสั่งซื้อแผ่นเพลง VCD คลิ๊กเลย !!!

วิเคราะห์บทความ

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม


 "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณครูแมว –ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน

สรุป
นิทานมีผลต่อเด็กในทุกๆด้าน  ครูต้องคอยสังเกตว่าเด็กมีความสนใจในนิทานเรื่องไหน  ครูก็หยิบนิทานเรื่องนั้นมาทำกิจกรรมแบบบูรณาการ  ซึ่งเวลาทำกิจกรรมครูต้องคำนึงว่า



โดยเนื้อหาสาระไม่ต้องมาจากครูทั้งหมด  แต่ครูต้องมีวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน คือ
- ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
- เด็กต้องมีพัฒนาการด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
หลังจากทำกิจกรรม  พบว่าเด็กชอบหยิบหนังสือมาอ่านมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเด็กมีแนวโน้มรักการอ่าน

........................................

สัปดาห์ที่ 15

วันที่ 21 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อย Blogger ของนักศึกษาพร้อมกับคำติชม เพื่อให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม
จากนั้นได้สรุปสาระการเรียนรู้จากการที่เราทำ Blog ว่าเราได้ประโยชน์ด้านใดบ้าง  ดังนี้



กระบวนการทำงาน  สามารถสรุปได้ดังนี้
- ตั้งวัตถุประสงค์ขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น การเข้าไปที่สื่อการเรียนรู้โทรทัศน์ครู
- จากนั้นนำมาวิเคราะห์
- แล้วนำมาปฏิบัติ
- ปรับปรุงแก้ไข/ตกแต่ง
วิธีการเรียนรู้ จากที่เราได้เรียนและปฏิบัติมาสามารถสรุปได้ดังนี้
- การสร้างสื่อ, การผลิตสื่อ จากนั้นมีการวางแผน เช่น การทำปฏิทินภาษาสำหรับเด็ก
- การนำมาประยุกต์ใช้
- วิธีการร้องเพลง  เช่น  การนำทำนองเพลงของเพลงอื่นมาใส่เป็นทำนองเพลงที่เราแต่งขึ้นมาเอง
- เทคนิคการเล่านิทาน เช่น นิทานเล่าไปวาดไป นิทานเล่าไปฉีดไป และนิทานเล่าไปพับไป เป็นต้น
- การได้ลงมือปฏิบัติจริง เช่น การไปสัมภาษณ์เด็กที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

......................................................

สัปดาห์ที่ 14

วันที่ 14 กันยายน 2555

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง  ออกมาร้องเพลงให้ครบ โดยเริ่มจาก
กลุ่มที่ 1 เพลงแปรงฟันกันเถอะ
กลุ่มที่ 2 เพลงเชิญมาเล่น
กลุ่มที่ 3 เพลงท้องฟ้าแสนงาม
กลุ่มที่ 4 เพลงเดิน เดิน เดิน
กลุ่มที่ 5 เพลงเด็กจอมพลัง

ต่อมาเป็นการเล่านิทานโดยใช้เทคนิคต่างๆดังนี้
                                                    เรื่องช้างมีน้ำใจ (เล่าไปฉีกไป) กลุ่มของดิฉัน

...รูปไม้กางเขน...

สมาชิกในกลุ่มค่ะ

กลุ่มต่อไป  แบ่งได้ดังนี้

.........................................................

อบรมการเล่านิทาน...



ประโยชน์ของการเล่านิทาน
นิทานช่วยส่งเสริมสติปัญญาเด็ก  ช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต
นอกจากนี้  นิทานยังช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ  ฉลาด  แสดงความคิดเห็นถูกจังหวะ  นิทานทำให้เด็กจับประเด็น  วิเคราะห์เก่ง  และนิทานสร้างให้เด็กมีจินตนาการ  เรียกว่า  มีความฉลาดทางปัญญา( IQ)  และความฉลาดทางอารมณ์ ( EQ) ด้วย  นิทานเป็นสื่อที่ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว  เพราะเด็กจะได้ยิน  ได้ฟังรูปประโยคของการใช้ภาษา  ทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน


.........................................................

สัปดาห์ที่ 13

วันที่ 7 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์แจกแผ่นประดิษฐ์อักษรสำเร็จและสีไม้ คนละ 1 กล่อง
อาจารย์สรุปเรื่องของภาษา  เริ่มจากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ทางภาษาของเด็ก
สื่อที่ใช้ส่งเสริมทางภาษา  ได้แก่  นิทาน  เพลง  คำคล้องจอง  ปริศนาคำทาย ฯลฯ
มุมประสบการณ์ทางภาษา  ก็จะมี เช่น รูปภาพ  นิทาน  บัตรคำ ฯลฯ  
การส่งเสริมทางภาษาที่สำคัญมี 4 ด้านคือ ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน
(มุมประสบการณ์ทางภาษาต้องการความเงียบสงบ  ดังนั้นมุมที่ไม่ควรอยู่ใกล้ คือ มุมบล็อก)
บูรณาการทางภาษาผ่านชีวิตประจำวัน  มีดังนี้
-การทักทายคุณครู ก่อนเข้าโรงเรียน
-เซ็นชื่อ/ลงชื่อ
-กิจกรรมหน้าเสาธง(สวดมนต์ไหว้พระ)
-เข้าห้องทำกิจกรรม ดังนี้
บูรณาการทางภาษาผ่านกิจกรรมหลัก  6 กิจกรรม  มีดังนี้
กิจกรรมการเคลื่อนไหว = ร้องเพลง/ทำท่าประกอบ
กิจกรรมศิลปะ = วาดภาพแทนคำพูด
กิจกรรมเสริมประสบการณ์(ขั้นนำ/ขั้นสอน/ขั้นสรุป) = ร้องเพลง/นิทาน/ประสบการณ์เดิม/เกม/คำคล้องจอง/การใช้คำถาม/ปริศนาคำทาย
กิจกรรมกลางแจ้ง = กติกา/ข้อตกลงต่างๆ
กิจกรรมเกมการศึกษา = จิ๊กซอ/โดมิโน/จับคู่/เรียงลำดับเหตุการณ์/ล็อตโต/ความสัมพันธ์สองแกน/อนุกรม
กิจกรรมสร้างสรรค์ = เช่น แต่งคำขวัญเกี่ยวกับ เหล้า


สรุป : ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร
เราไม่สนของผลการกระทำ แต่สิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการ

สัปดาห์หน้า : ให้แต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทานที่ตนได้รับผิดชอบ   กลุ่มของฉันได้ : เล่าไปฉีกไป

.........................................................

นิทรรศการเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซียน

โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
"คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน"
ร่วมฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี
วันที่ 6-7 กันยายน 2555
คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

นิทรรศการ : เตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซียน

สัปดาห์ที่ 12

วันที่ 31 สิงหาคม 2555
                                                                                        
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเพลงของกลุ่มตนเอง  แล้วสอนเพื่อนร้องเพลงพร้อมกับท่าเต้นตามไปด้วย  โดยอาจารย์ได้ถ่าย VDO เก็บไว้เป็นผลงานของเรา  เพลงของกลุ่มดิฉันคือ 
เพลงโรงเรียนของฉัน


แนวคิดในการแต่งเพลง
อยากให้เด็กได้เรียนรู้ว่าภายในโรงเรียนเป็นอย่างไร  กิจกรรมภายในห้องเรียนต้องทำอะไรบ้าง  และเด็กดีจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเวลาที่คุณครูสอน  เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ภายในโรงเรียนและมีความรู้สึกที่อยากจะมาโรงเรียนเพื่อทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และที่สำคัญปลูกฝังให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อคุณครูและโรงเรียนค่ะ

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิด  คำขวัญเลิกเหล้า
= กลุ่มของดิฉัน  "ดื่มเหล้าแล้วตับแข็ง  เสียทั้งแรง  เสียทั้งเงิน"
= ปรับสิ่งที่มีอยู่ทำให้เกิดความน่าสนใจ  "เซ็ง!!  ดื่มเหล้าแล้วตับแข็ง  เสียทั้งแรง  เสียทั้งเงิน"


ก่อนที่เราจะตั้งคำขวัญขึ้นได้  เราต้องรู้จักหัวข้อและที่สำคัญ  คือ จุดประสงค์  เช่น 
บอกให้คนที่ดื่มเหล้าเลิกเหล้า   และคนที่ไม่ดื่มเหล้าทำให้เขาไม่คิดที่จะดื่มมัน  อาจจะบอกถึงเหล้ามีผลกระทบอย่างไร  เหล้าให้โทษอย่างไร  หรือเมื่อเลิกเหล้าแล้วจะเกิดผลอย่างไรตามมา  เช่นเดียวกันเมื่อเราสอนเด็ก  เราต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดและทำตามให้สัมฤทธิ์ผล...

.......................................................

การอบรมสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษสี




พุทธรักษาแทนใจมอบให้พ่อ
รู้ไหมหนอลูกรักพ่อเท่าชีวิน
พระคุณพ่อล้ำค่าอเนกอนันต์
พ่อของฉันเป็นคนดีที่หนึ่งเลย

ความรู้ที่ได้จากการอบรม
เมื่อก่อนเวลาเราจะจัดบอร์ดแต่ละครั้งต้องซื้อดอกไม้สำเร็จรูปเป็นชุด ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก  พอได้เข้าอบรมแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดบอร์ดไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ใบไม้และผลไม้ อาจารย์สอนเราทั้งหมด ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก แต่ต้องฝึกบ่อยๆให้ชำนาญ  จึงจะสวย  เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้จัดห้องซึ่งอนาคตเมื่อเราเป็นครู  เราต้องจัดบอร์ดให้เป็นจึงมีความจำเป็นมากค่ะ

....................................................

"Big Book"

Power Point 
กิจกรรมเล่านิทานเล่มใหญ่หรือ Big Book ให้น้องๆ ชั้นอนุบาล 1 ฟัง ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม


ค้นคว้าเพิ่มเติม


การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ (Big Book) สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ (Big Book) หมายถึงการจัดสภาพการณ์ให้เด็กเรียนรู้การสื่อสารซึ่งกันและกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์และมีความหมายด้วยการสร้างหนังสือเล่มใหญ่ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้การอ่านจากผลงานการเขียน เรียนรู้การเขียนจากการอ่าน เรียนรู้ภาษาจากวรรณกรรมและการเลียนแบบ กระตุ้นให้เด็กแสดงการสื่อสารผ่านกระบวนการคิดตลอดเวลาและใช้ภาษาจากแรงจูงใจภายในไม่ใช่การบังคับ ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 กำหนดเนื้อเรื่องนิทาน ขั้นที่ 2 สำรวจความหมายของคำ ขั้นที่ 3 สร้างหนังสือเล่มใหญ่ ขั้นที่ 4 ใช้หนังสือเป็นแหล่งข้อมูล

หลักการการจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่

1. เรียนอ่านและเขียนด้วยกันอย่างมีวัตถุประสงค์ การอ่านและการเขียนควรจะเรียนพร้อมกันเพราะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องซึ่งเด็กจะนำสิ่งที่ได้ในการอ่านมาใช้ในการเขียน2.ฟังและทำความเข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดก่อนและจึงมาทำความเข้าใจส่วนย่อยๆเช่น ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์3. เลือกเนื้อเรื่องที่เร้าความสนใจของเด็ก หรือให้เด็กสร้างเนื้อเรื่องขึ้นใหม่ตามความสนใจ พยายามให้เด็กเรียนรู้จากแรงจูงใจภายใน(เรียนรู้ด้วยตนเอง)ในห้องเรียนควรมีหนังสือวรรณกรรมเด็กเป็นจำนวนมากเพียงพอ4. เด็กได้เรียนรู้ภาษาอย่างอิสระซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วและสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้
5. เปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษาหลากหลายโดยมีครูควรให้คำแนะนำช่วยเหลือ ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู
6. ให้เรียนอ่านและเขียนไปพร้อมๆกันจะทำให้เกิดความแม่นยำในเนื้อหา
7.สร้างบรรยายกาศให้เด็กคุ้นกับหนังสือเพื่อซึมซับเรื่องราวในหนังสือ ให้เด็กพูด อ่านเขียนและวาดภาพ เล่นบทบาทสมมุติ จัดพื้นที่ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมสื่อสารภาษาในลักษณะเป็นองค์รวมโดยใช้การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนร่วมกัน
8. จัดการเรียนรู้แบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูศึกษาความสนใจความสามารถ และสอนเด็กตามระดับความสามารถที่แตกต่างกัน ครูเตรียมและวางแผนการสร้างหนังสือตามความสนใจของเด็ก เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างมีความสุข
9. ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าเสี่ยงที่จะพูด เขียน โดยไม่กลัวผิด
10. ครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการพูด ฟัง อ่านและเขียน


ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

.................................................................

^^สื่อปฎิทิน^^

ปัจจุบันสื่อการสอนที่ใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 5 ด้านของเด็กปฐมวัยนั้น มีอยู่มากมาย แต่สื่อเหล่านั้นกลับมีราคาแพง และหายากที่จะตรงตามแบบการสอนของคุณครู ขอนำเสนอการสร้างสรรค์สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 5 ด้านในระดับปฐมวัย  โดยเราจะใช้สิ่งของ และเศษวัสดุต่าง ๆ รอบตัว มาประดิษฐ์ให้เข้าใจ และเห็นภาพชัดเจน โดยเน้นให้นักเรียนเชื่อมโยง รู้จักนึกคิด วิเคราะห์จากสิ่งที่คุณครูสอนกับสิ่งต่าง ๆ ที่เคยพบเห็นมา

ศึกษาเพิ่มเติมจาก : สร้างสื่อพัฒนาการเด็กเล็กอย่างง่าย (ผศ.ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร)

....................................................

สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 24 สิงหาคม 2555

-อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุยมันมีอะไร  แล้ววิเคราะห์ว่าฟังแล้วมันให้อะไร  วัตถุประสงค์คืออะไร  และเราฟังแล้วรู้สึกอย่างไร  พูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวคือเกาะสมุย  เชิญชวนให้คนมาเที่ยวเกาะสมุยและฟังแล้วทำให้เรารู้สึกอยากไปตามที่เนื้อเพลงได้กล่าวถึง...

-อาจารย์ยกตัวอย่าง
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน  เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด
แนวคิดสำคัญ
images/stories/alf35.pngแม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
images/stories/alf35.pngการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ
images/stories/alf35.pngเด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ
     เมื่อคุณครูเล่านิทานจบ  แล้วให้เด็กออกมาเล่า เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราว  เด็กออกมาเล่าทำให้เกิดการแปลความ  ตีความ  คาดคะเน  และเก็บประเด็นสำคัญแล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราวและพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ  ซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษ
     เด็กแสดงละคร  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสม
     เด็กได้ประดิษฐ์รูปช้าง  ทำให้เด็กรู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน  เชื่อมโยงกับสิ่งที่เล่ามา  ได้ทำงานแบบร่มมือและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
     เด็กได้ไปทัศนศึกษาที่เขาดิน  ทำให้เด็้กได้ใกล้ชิดกับสิ่งที่เป็นจริงแล้วเกิดการเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่อยู่ในนิทาน  เกิดการวิเคราะห์  แยกแยะ
     เด็กได้เต้นประกอบเพลงช้าง  ส่งเสริมพัฒนาการทางด้่านร่างกาย
ซึ่งตัวอย่างที่กล่าวมาก็เป็นการเรียนแบบการบูรณาการนั่นเอง

Link : การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้แต่ละกลุ่มแต่งเพลงเกี่ยวกับอะไรก็ได้  
ต้องมีเนื้อเพลง(เขียนลง Power Point)  ทำนองเพลง(เพลงอะไรก็ได้)  พร้อมทำท่าทางประกอบ
-เล่านิทาน  โดยเล่าไปฉีกไป  กำหนดเรื่องขึ้นมาเอง
สัปดาห์ต่อไปแสดง  พร้อมเริ่มทยอยส่งงานทุกชิ้นได้


......................................................

ภาษาธรรมชาติ


แนวคิดที่ได้จาก VDO
แม้ไม่เรียนเขียนอ่านเป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัย คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน

....................................................

สัปดาห์ที่ 10 เรียนชดเชย

วันที่ 19 สิงหาคม 2555

-สัปดาห์หน้าอาจารย์นัดส่ง Power Point กิจกรรมเล่านิทานให้น้องๆ ฟังของสัปดาห์ที่ 7 ทุกกลุ่ม
-งานสัปดาห์นี้คือ ทำสื่อบนปฎิทิน ตามที่แต่ละกลุ่มจับฉลากได้
        อักษรสูง     : ง  ญ  น  ย  ร  ว  ม  ล
        อักษรกลาง : ก  จ  ด  ต  บ  ป  อ
        อักษรต่ำ     : ศ  ฐ  ข  ส  ฝ  ถ  ผ  ห  ฉ
        สระมีทั้งหมด : อะ  อา / อิ  อี / อุ  อู / เอะ  เอ / แอะ  แอ / โอะ  โอ

-กลุ่มของดิฉันได้  อักษรต่ำ : ศ  ฐ  ข  ส  ฝ  ถ  ผ  ห  ฉ  สระ : อุ  อู


กิจกรรมในห้องเรียน
-ให้นักศึกษาทุกคนหาสิ่งที่เราชอบมากที่สุดมา 1 อย่าง และบอกเพื่อนว่าทำไมถึงชอบ
         กระเป๋า : เพราะกระเป๋าใบนี้ใช้มานาน  จึงรู้สึกผูกพันธ์  เป็นใบที่ชอบมาก  และเราจะไปไหนก็ต้องใช้เงิน  เงินก็อยู่ในกระเป๋าค่ะ
-ให้นักศึกษาทุกคนโฆษณาขายสินค้า 1 อย่าง
          ปากกา : ปากกายี่ห้อนี้ดี เขียนลื่น มี 5 แท่งในโลก ราคาไม่แพง รีบมาจับจองเป็นเจ้าของได้นะคะ
-ให้นักศึกษาทุกควาดภาพแทนคำพูด

ผี+เสื้อ=ผีเสื้อ

-ให้นักศึกษาทุกควาดภาพอะไรก็ได้ที่อยากจะวาด 

-ให้แต่ละแถวเอาภาพของตัวเองมารวมกับเพื่อนแล้วแต่งเป็นเรื่องราวให้สมบูรณ์


-แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่ม 1 เป็นฝ่ายอ่านข่าว  อีกกลุ่มเป็นการประชาสัมพันธ์
        การประชาสัมพันธ์ : ในวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2555 ขอเชิญคุณแม่มือใหม่เข้ารับการอบรม เรื่อง เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไปถึงฝัน ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 4  เวลา 13.00 น. เป็นต้นไปค่ะ  สวัสดีค่ะ...



ทุกกิจกรรมที่ได้ทำในห้องเรียนครั้งนี้  ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษากล้าที่จะพูด ผ่านการคิด วิเคราะห์และเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง คุณครูหรือผู้ปกครองควรส่งเสริม ทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง พูด อ่าน เขียน ตาม Mind Mapping ข้างบนค่ะ

..........................................

สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 17 สิงหาคม 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  
หมายเหตุ : เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 เวลา 13:00 น. ที่ห้องเรียน 223

..........................................

สัปดาห์ที่ 9

วันที่ 10 สิงหาคม 2555

วันนี้อาจารย์สั่งงานให้ทำสื่อในรูปแบบปฏิทิน  โดยเอาปฎิทินที่ไม่ใช้แล้วแบบตั้งโต๊ะมา Recycle  เพื่อเป็นสื่อที่เกิดประโยชน์แก่น้องๆ  รายละเอียดในการทำและการแบ่งกลุ่ม  อาจารย์ให้มารับที่โต๊ะในวันพุธที่  15 สิงหาคม  2555 แล้วสัปดาห์หน้าทุกกลุ่มต้องพร้อมที่จะนำเสนอ^^


.................................................

สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 3 สิงหาคม 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  
หมายเหตุ : เป็นวันหยุดราชการ  เนื่องจากตรงกับวันเข้าพรรษา



..........................................

สัปดาห์ที่ 7

วันที่ 27 กรกฎาคม 2555

แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยจากการเล่านิทาน  ทั้งหมด 8 กลุ่ม ดังต่อไปนี้



 จากการที่ได้เล่านิทานให้น้องๆ ฟัง 
น้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  สังเกตได้จากการมานั่งฟังด้วยความตั้งใจ  แต่ส่วนมากที่มานั่งฟังจะเป็นเด็กผู้หญิง  ส่วนเด็กผู้ชายนั้นจะเล่นเครื่องเล่นโดยมานั่งฟังประมาณ 1-2 คน
น้องได้ตอบคำถาม  ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนๆ  ทำให้น้องได้พัฒนาด้านภาษา 
น้องจะได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  คือ  ด้านร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา
เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากประสาทสัมผัสทางหู ภาษาที่เด็กได้จากการฟังนิทานจะทำให้เด็กๆได้เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวได้มากขึ้น นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็ว  การเล่านิทานเปรียบเสมือนการสอนภาษาไปในตัว  และเด็กสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องเพราะในระหว่างฟังนิทานเด็กก็จะมีกระบวนการคิดจินตนาการและสามารถจดจำรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ตัวอย่าง เช่น รูปสัตว์ ลิง ช้าง และสิ่งต่างๆในตัวละคร  หนังสือนิทานที่มีลูกเล่น  สามารถเลื่อนไปมาได้และมองเห็นเป็นภาพต่างๆ เด็กๆ ก็อยากลองทำดู  ดังนั้นเราก็ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสนิทานให้เด็กลองได้เลื่อนภาพที่อยู่ในหนังสือนิทานโดยให้เด็กเข้าแถวเพื่อให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสลองเล่น ลองเลื่อนไปมา เด็กๆ จะมีความสุขมากจะส่งผลต่อพัฒนาการได้ดีมากขึ้น  เด็กจะกล้าแสดงออก  กล้าแสดงความคิดเห็น  กล้าตอบคำถาม เพราะการที่เราให้เด็กทำแบบนี้จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าภายในตนเอง

คำแนะนำจาก อาจารย์บาส
อาจารย์ให้คำแนะนำในการรายงานหน้าชั้น  แบบภาพรวมทุกกลุ่ม  ให้นำข้อบกพร่องในวันนี้ไปปรับปรุงแก้ไข  สัปดาห์หน้ามารายงานใหม่ให้ดีกว่าเดิม

หมายเหตุ :อาจารย์บาสมาสอนแทน


...........................................................

การดำเนินกิจกรรมการเล่านิทาน Big Book

วันที่ 24 กรกฎาคม 2555  

วันนี้เวลา 8.00-8.20 น. กลุ่มของดิฉันได้ไปทำกิจกรรมเล่านิทาน Big Book เรื่องความสามัคคีของสัตว์ทั้งสี่  ให้น้องๆ ฟังที่สาธิตจันทรเกษม  น้องทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากค่ะ


ค้นคว้าเพิ่มเติม
มาทำความรู้จักกับ Big Books หรือขอเรียกชื่อเล่นว่า นิทานเล่มใหญ่ แทนก็แล้วกันนะคะ หลายๆคนที่เคยเห็นอาจจะทราบแล้วว่าเจ้านิทานเล่มโตนี้ ดีอย่างไร หากแต่หลายๆครั้งที่ได้ยินคำถามกลับมาว่า จริงๆแล้วหนังสือนิทานเล่มใหญ่ๆมีไว้เพื่ออะไร ดีอย่างไร เราดีใจค่ะที่มีคนถาม เพราะเราก็อยากตอบให้หายสงสัยกันสักที

Big Book เหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่

จริงๆแล้วไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอายุของเด็ก ตราบเท่าที่น้องๆหนูๆอยากอ่านหนังสือขึ้นมาสักเล่ม ก็คงเป็นเรื่องน่ายินดี เริ่มแรกเลยหนังสือเล่มใหญ่นี้เอาไว้ใช้กับเด็กในวัยเริ่มหัดอ่านหนังสือ ตั้งแต่อนุบาล จนถึงประถมต้นค่ะ หรืออายุเริ่มต้นที่ 3 - 8 ขวบ โดยหนังสือที่สำนักพิมพ์เลือกมาทำให้เป็นเล่มใหญ่ๆนี้ จะเริ่มจากมีเนื้อหาจากน้อยๆ และเพิ่มปริมาณเนื้อหา คำศัพท์ มากขึ้นเรื่อยๆให้เหมาะสมกับอายุและการพัฒนาการ เนื้อเรื่องชวนอ่าน และที่สำคัญ สีสันสดใสมากๆค่ะ ในวัยเด็กๆแบบนี้จินตนาการจากรูปภาพ วิธีการจดจำคำศัพท์จากรูป จากเรื่องราวที่ได้เห็น ได้อ่าน จะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการได้ดีมากขึ้นนะคะ


Tip : ควรเลือกหนังสือที่มีคำศัพท์จากน้อย ไปหามาก ให้สำหรับเด็กอายุน้อย ไปหามากเช่นกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากอ่าน เพราะมันจะไม่เยอะเกินความสามารถพวกเขานั่นเองนะคะ

Big Book แนะนำวิธีการนำไปใช้
ด้วยขนาดที่ใหญ่ของหนังสือนั้นทำมาก็เพื่อ "อ่านด้วยกันได้หลายคน" หรือ ที่ฝรั่งเรียก "Shared Reading" นั้น จึงเหมาะที่จะจัดกลุ่มให้เด็กๆล้อมวงกันโดยมีคุณครู พ่อ แม่ พี่ หรือ ผู้ปกครองเป็นคนอ่านเล่าเนื้อเรื่องให้ฟัง โดยเราสามารถที่จะสร้างความสนุกสนานไปพร้อมๆกับมอบความรู้ให้กับเด็กๆ โดยสามารถอ่านเล่าเรื่องได้หลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีจุดประสงค์ในการให้ความรู้ ความสนุกสนานกับเด็กๆที่ต่างกันไป เรามีเคล็ดเล็กๆดังต่อไปนี้มาฝากค่ะ

* วันแรกเริ่มต้นด้วยการให้เด็กๆ เดาว่าหนังสือเล่มที่กำลังจะอ่านกันนั้น เกี่ยวกับอะไรด้วยการโชว์ปกหน้า หลัง ฟังความเห็นเด็กๆว่าจะเดากันว่ายังไง แล้วเริ่มต้นอ่านดังๆ ชัดเจน (สามารถแอ๊คชั่น ใส่อารมณ์ตามเนื้อหาเพื่อเพิ่มความสนุกสนานน่าติดตามค่ะ) เล่าเรื่องไปจนจบก็จะได้ความสนุกสนานให้กับเด็กๆ อย่าลืมทวนว่ามีใครทายถูกกันบ้างนะคะ เค้าจะได้รู้สึกมีส่วนร่วม ชวนให้ร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออกอีกด้วย ไม่ใช่ถามแล้วลืมเดี๋ยวเด็กๆเค้าจะไม่อยากตอบเราอีกต่อไป

* วันที่สอง ก็อ่านเล่าเนื้อเรื่องใหม่ แต่คราวนี้เราเน้นไปที่คำศัพท์ ด้วยการให้เด็กๆอ่านตาม (Echo reading) หรือให้อ่านไปพร้อมๆกัน (Choral reading)หรือในขณะที่กำลังอ่านไปก็หยุดเพื่อรอให้ เด็กๆ เติมคำที่หายไป (Fill in the gap reading) วิธีการเหล่านี้้เป็นการกระตุ้นให้เด็กๆเกิดความเพลิดเพลินในการอ่านอีกด้วยค่ะ

* วันที่สาม อ่านกันใหม่ คราวนี้เราจะเริ่มให้เด็กๆเดาความหมายของคำศัพท์ กับ รูปภาพที่อยู่ในหนังสือ โดยครูจะเป็นผู้ชี้นำเด็กด้วยการตั้งคำถามเพื่อที่จะดึงเอาความหมายของคำศัพท์ที่ถูกต้องออกมาจากรูปในหนังสือได้

* วันที่สี่ เมื่อเด็กๆรู้ความหมายของคำศัพท์กันแล้ว ก็มาลองแลกเปลี่ยนความเห็น เกี่ยวกับเนื้อเรื่องของหนังสือ เช่น ถ้าในหนังสือมีรูปไก่กำลังร้อง เราสามารถถามเด็กๆว่า ถ้าเราเปลี่ยนไก่เป็นลิง เสียงร้องจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเป็นหมูจะมีเสียงร้องเป็นอย่างไร เป็นต้น เหล่านี้ก็เพื่อเพิ่มความรู้ให้เด็กๆนอกจากที่หนังสือนำเสนอแล้วยังทำให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการออกความเห็นกับเราร่วมกันด้วย

* วันที่ห้า เมื่อเด็กๆเริ่มรู้เนื้อหาของหนังสือเราจะมาทดสอบความจำ ความเข้าใจพวกเขากันด้วยการ เปิดหนังสือให้เด็กๆเรียงเหตุการณ์ลำดับก่อนหลังได้อีกด้วยอีกทั้งครูสามารถเปิดหาคำที่มี อยู่ซ้ำๆกัน หรือเล่นกับเสียงของคำ ด้วยการอ่านแล้วให้เด็กฟังว่าคำศัพท์คำไหนมีการออกเสียงที่คล้องจองกันได้ อีกด้วย

เราจะเห็นว่ามีหลากหลายวิธีการเรียนรู้ในระหว่างการอ่านหนังสือร่วมกัน หากใครมีวิธีการใหม่ๆอยากนำเสนอก็เอามาแชร์กันนะคะเผื่อจะได้เพิ่มพูนวิธีการที่มีประโยชน์ให้กับเด็กๆได้อีกด้วยค่ะ

อ้างอิงจาก : Big Book - นิทานเล่มใหญ่

....................................................

สัปดาห์ที่ 6

วันที่ 20 กรกฎาคม 2555

วันนี้อาจารย์ได้สั่งงงานให้แบ่งกลุ่ม(จากกลุ่มเดิม)  จะมีทั้งหมด 11 กลุ่ม ดังนี้
นิทานเล่มเล็ก    จะมี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1


นิทานเล่มใหญ่   จะมี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1


VDO                    จะมี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3

โดยให้แต่ละกลุ่มไปเล่านิทานให้น้องฟังตามที่กลุ่มของตนได้รับมอบหมาย  จากนั้นจดบันทึกให้ละเอียดพร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมของน้อง   เมื่อจบการเล่านิทานเพื่อนๆ  อาจจะถามน้องให้น้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย!!!   แล้วมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

..........................................

สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 13 กรกฎาคม 2555

ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานในรูปแบบ VDO

ค้นคว้าเพิ่มเติม
ช่วงอายุของเด็กในวัยเรียน 6-12 ปีนั้น ถือเป็นช่วงสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต และพัฒนาการต่างๆทางด้านสติปัญญา (higher cognitive functions) เป็นช่วงที่การทำงานของสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเต็มที่ ดังนั้นธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเด่นชัดในแต่ละขวบปี ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
อายุ 6 ปี
เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้ เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่าง ๆ เข้าใจความหมายของหน้า-หลังและบน-ล่างของตัวเด็ก แต่ไม่เข้าใจระยะใกล้หรือไกลของสถานที่ เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมค่อนข้างสั้น สนใจการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่จะไม่สนใจความสำเร็จของกิจกรรมนั้น ๆ เด็กจะกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทำทันที โดยไม่สนใจว่างานนั้นจะสำเร็จหรือไม่
อายุ 7 ปี
เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น สามารถจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ มีความสนใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ และจะพยายามทำให้สำเร็จ รู้จักชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมยังค่อนข้างสั้น จะสนใจสิ่งต่างๆทีละอย่าง ดังนั้น ถ้ามีงานหลายอย่างให้เด็กทำ ควรจะแบ่งหรือกำหนดให้เป็นส่วน ๆ ไม่ควรให้พร้อมกันทีเดียว เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ
อายุ 8 ปี
เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจซักถามมากขึ้น ชอบทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ตนไม่เคยทำมาก่อน มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมนานขึ้น มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ มีความพิถีพิถันและรับฟังคำแนะนำในการทำงานมากขึ้น สามารถเข้าใจคำชี้แจงง่าย ๆ มีความสนใจในการเล่นต่าง ๆ สามารถแสดงละครง่าย ๆ ได้ สนใจการวาดภาพ ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ การ์ตูน ฟังวิทยุ และชอบนิทาน สนใจในการสะสมสิ่งของ
อายุ 9 ปี
เด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักใช้เหตุผล สามารถตอบคำถามอย่างมีเหตุผล มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวกว้างขึ้น ชอบอ่านหนังสือที่กล่าวถึงข้อเท็จจริง สามารถแก้ปัญหาและรู้จักหาเหตุผลโดยอาศัยการสังเกต ในวัยนี้ต้องการอิสรภาพเพิ่มขึ้น สนใจที่จะสะสมสิ่งของ และจะเลียนแบบการกระทำต่าง ๆ ของคนอื่น
อายุ 10 ปี
วัยนี้เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาเต็มที่ การเรียน การหาเหตุผล ความคิดและการแก้ปัญหาดีขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง และมีการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ ไม่ทำอย่างหุนหันพลันแล่น มีความคิดริเริ่ม เด็กชายชอบเรียนดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เด็กหญิงจะสนใจเกี่ยวกับการเรือน การสร้างมโนภาพเกี่ยวกับเวลา แม่นยำและกว้างขวางขึ้น ทำให้สามารถศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญ วัน เดือนปี ได้ สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว
อายุ 11-12 ปี
เด็กวัยนี้จะมีเพื่อนวัยเดียวกัน มีการเล่นเป็นกลุ่ม บางคนจะเริ่มแสดงความสนใจในเพศตรงข้าม สนใจกีฬาที่เล่นเป็นทีม กิจกรรมกลางแจ้ง สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก หนังสือ การ์ตูน จะมีลักษณะเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ อาจกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ และชอบการวิพากษ์วิจารณ์ จะเห็นว่าความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าความคิดเห็นของผู้ใหญ่ และจะมีความกังวล เริ่มเอาใจใส่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของตนด้วย

อ้างอิงจาก : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/305078


...............................................................